.
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558
การวัดแสง
ระบบวัดแสงทั้งภาพ ไม่ได้วัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ
ระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพแบบโง่ๆ ไม่มีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว
ที่เราเรียกว่าระบบวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพนั้น ที่จริงแล้วมันคือระบบแบ่งพื้นที่วิเคราะห์ค่าแสงด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น Evaluative, Matrix, (multi) Pattern, ESP หรืออะไรก็แล้วแต่ มันไม่ได้แค่วัด
แสงทั้งภาพแล้วเอามาเฉลี่ย หรือย้ายพื้นที่วัดแสงตามจุดโฟกัสเฉยๆ มันทำอะไรซับซ้อนกว่านั้นมาก
มันจะแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็นหลายๆ ส่วน วัดแสงแต่ละส่วน เก็บข้อมูลระยะโฟกัส ทางยาวโฟกัส จุดโฟกัสที่ใช้ เลนส์ที่ใช้ และข้อมูลอะไรอีกหลายอย่าง แล้วเอาไปเข้าระบบประมวลผลเพื่อเดาว่าเป็นภาพอะไร ต้องให้น้ำหนักแสงไปที่ส่วนไหน และถ้าเป็นกล้องพวก mirrorless อาจจะมีการใช้ image recognition เข้ามาร่วมด้วย และจะไปดึงค่าเซ็ตติ้งกับการชดเชยแสงจากฐานข้อมูลขึ้นมาใช้กับค่าแสงที่วัดได้ ซึ่งค่าการชดเชยแสงนี้ก็ได้มาจากการสะสมข้อมูลนับสิบปี จากวิศวกรของบริษัท เพื่อเลือกค่าที่เหมาะกับอุปกรณ์ และการใช้งานจริงของช่างภาพมืออาชีพหลายหมื่นคนเพื่อให้เหมาะกับลักษณะภาพแต่ละแบบ (อย่างเช่นนิคอนโฆษณาว่ามีฐานข้อมูลการเปิดรับแสงที่เอามาใช้มากถึง 3 หมื่นสถานการณ์ บริษัทอื่นก็คงไม่ต่างกัน แค่ไม่ได้โฆษณาเท่านั้น)
กล้องจะตัดสินใจว่าจะตัดค่าแสงส่วนไหนทิ้ง จะให้ความสำคัญกับส่วนไหน และชดเชยแสงเท่าไหร่ กล้องแต่ละรุ่น เลนส์ที่มีขนาดน้ำหนักต่างกัน ก็ส่งผลต่อการเลือกใช้ความไวชัตเตอร์ไม่เหมือนกัน ระยะถ่ายภาพใกล้ไกล ทางยาวโฟกัสที่เลือกใช้ ช่องรับแสงที่เลือกใช้ จุดโฟกัสที่ใช้ แพทเทิร์นของแสงในแต่ละส่วนของภาพ กล้องจะคำนวณทั้งหมด ก่อนที่จะสรุปออกมาเป็นค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสม
CR.. พี่นิค